กฎหมายกับประชาชนไทย
จัดทำโดย
สำนักงานทนายความ สุพจน์ ธุรกิจ และ สังคม
โทร.0-2418-4546-7#201 ,0-2866-1175 ,Fax 0-2866-1590 ,0-6341-5462
 

  
บ้านกฎหมาย
ตู้กฎหมาย
ตู้คำพิพากษา
คำถาม-คำตอบ
ข้อแนะนำ
สนทนา
ติดต่อ
 

 

 

   ๑. กู้ยืม ผู้กู้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้ทั้งสี่ฉบับโดยนำมาเรียงใส่กระดาษคาร์บอน ลงชื่อครั้งเดียว ถือว่าสัญญากู้ทั้งสี่ฉบับมีลายมือชื่อผู้กู้ผู้ต้องรับผิด

       แม้ลายมือชื่อ ก. ในสัญญากู้ที่มอบให้แก่ ค. ง. และ จ. จะเป็นรอยกดที่เกิดขึ้นจากาการลงลายมือชื่อของ ก. ที่ลงไว้ในฉบับของ ข. ก็เป็นพฤติการณ์ที่เห็นได้ว่า ก. ตั้งใจจะลงลายมือชื่อให้ปรากฏในสัญญาทุกฉบับด้วยตนเอง จึงถือได้ว่าสัญญากู้ที่มอบให้แก่ ค. ง. และ จ. มีลายมือชื่อ ก. ผู้ต้องรับผิดแล้ว ค. ง. และ จ. ย่อมฟ้องเรียกเงินกู้จาก ก. ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๖๕๓

     ๒.  ผู้กู้เงินเกินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไป ผู้กู้อนุญาตให้บุตรลงลายมือชื่อในสัญญาแทนไม่ได้ หลักฐานแห่งการกู้ยืมไม่สมบูรณ์ ฟ้องร้องไม่ได้

      การกู้ยืมเงินเกินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไป ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๖๕๓ วรรคหนึ่ง ดังนั้น แม้ลายมือชื่อนางรวยผู้ให้กู้เป็นลายมือชื่อปลอม ก็หามีผลกระทบต่อหลักฐานการกู้ยืมเงินแต่อย่างใดไม่ (ฎีกาที่ ๖๙๓๐/๒๕๓๗) และเมื่อกิจการอันใดซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ บุคคลผู้จะต้องทำหนังสือไม่จำต้องเขียนเอง แต่หนังสือนั้นต้องลงลายมือชื่อของบุคคลนั้น ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง กรณีที่นายจนให้บุตรเป็นผู้ลงลายมือชื่อแทน ไม่มีกฎหมายให้อำนาจลงลายมือชื่อแทนกันได้ แม้นายจนเจ้าของลายมือชื่ออนุญาตหรือให้ความยินยอม ก็ลงลายมือชื่อแทนกันไม่ได้ (ฎีกาที่ ๑๕๒๖/๒๕๒๕) เมื่อนายจนไม่ได้ลงลายมือชื่อผู้กู้ในสัญญากู้ที่นางมีนำมาฟ้องด้วยตนเอง โดยบุตรลงลายมือชื่อแทน เช่นนี้ ไม่มีผลผูกพันนายจน ทั้งหาใช่เป็นกรณีที่นายจนเชิดให้บุตรเป็นตัวแทนกู้เงินนางรวยไม่ (ฎีกาที่ ๖๙๖/๒๕๒๒)
 

บ้านกฎหมาย ตู้กฎหมาย ตู้คำพิพากษา คำถาม-คำตอบ ข้อแนะนำ สนทนา ติดต่อ