กฎหมายกับประชาชนไทย
จัดทำโดย
สำนักงานทนายความ สุพจน์ ธุรกิจ และ สังคม
โทร.0-2418-4546-7#201 ,0-2866-1175 ,Fax 0-2866-1590 ,0-6341-5462
 


 
บ้านกฎหมาย
ตู้กฎหมาย
ตู้คำพิพากษา
คำถาม-คำตอบ
ข้อแนะนำ
สนทนา
ติดต่อ
 

 

          
            กฎหมายที่
ตราเป็นพระราชบัญญัติ  มีมากมายหลายฉบับ ถ้าจะนับแบบคร่าว ๆ เป็นพันกว่าฉบับ ยากที่จะจดจำได้ แต่เรานำมาใช้สิ่งที่เกี่ยวข้องแต่ละคดีเท่านั้น โดยอาศัยหลักบรรทัดฐานของกฎหมายสี่มุมเมือง กล่าวคือ พระราชบัญญัติประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และพระราชบัญญัติประมวลกฎหมายวิธพิจารณาความแพ่ง  หากคดีหรือปัญหาใดที่เกี่ยวข้องเรื่องอื่น ๆ ก็ต้องนำพระราชบัญญัติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องนำมาปรับใช้นั่นเอง

            กรณีดังที่กล่าวมา จะนำข้อเท็จจริงและ/หรือข้อกฎหมาย มาตั้งเป็นคำถามให้ท่านตอบ ว่าท่านมีความคิดเห็นตรงกันหรือไม่อย่างไร โดยอาศัยหลักบรรทัดฐานแนวฎีกาที่ศาลฎีกาได้ตัดสินไว้เป็นที่สุดแล้ว หรือคำถามที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ระหว่างชาวบ้านกับชาวบ้าน ,ระหว่างส่วนราชการกับชาวบ้าน หรือส่วนราชการกับส่วนราชการ เป็นต้น ดังจะถามต่อไปนี้ โดยจะตั้งเป็นคำถามและให้ท่านเป็นคนตอบในส่วนนี้ หากคิดไม่ออกหรือตอบไม่ได้ ก็ให้ไปดูคำตอบในเรื่องนั้น ๆ ดังต่อไปกล่าวคือ        คำตอบข้อ ๑.  การกู้ยืมเงินตั้งแต่ ๕๐ บาทขึ้นไป จะต้องทำเป็นหนังสือระหว่างกันที่จะใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องคดีได้ต่อไป   วิธีการทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน สาระสำคัญในหนังสือสัญญากู้ยืม ให้มีวัน/เดือน/ปี จำนวนเงิน ดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ ๑๕ ต่อปี วันครบกำหนดชำระคืน สิ่งที่สำคัญที่สุดลายมือชื่อผู้กู้ ผู้ให้กู้ หากมีพยานบุคคลลงชื่อเป็นพยานด้วยก็ยิ่งดี

            หากกรณีเป็นการเร่งด่วน ที่ลูกหนี้ยืมเงินไปแล้วไม่ได้ทำหลักฐานการกู้ยืมกันไว้ หากต้องการที่จะทำเป็นหลักฐานไว้ก็ให้ดำเนินตามที่กล่าวไว้ข้างต้น  หากผู้กู้ไม่เต็มใจจะทำเป็นหลักฐานดังที่กล่าวไว้แล้วนั้น  ให้ผู้กู้เขียนจำนวนเงินที่กู้ยืมไปลงในเศษกระดาษพร้อมลงลายมือชื่อผู้กู้ ก็ให้ถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้แล้ว

บ้านกฎหมาย ตู้กฎหมาย ตู้คำพิพากษา คำถาม-คำตอบ ข้อแนะนำ สนทนา ติดต่อ