กฎหมายกับประชาชนไทย
จัดทำโดย
สำนักงานทนายความ สุพจน์ ธุรกิจ และ สังคม
โทร.0-2418-4546-7#201 ,0-2866-1175 ,Fax 0-2866-1590 ,0-6341-5462
 

  
บ้านกฎหมาย
ตู้กฎหมาย
ตู้คำพิพากษา
คำถาม-คำตอบ
ข้อแนะนำ
สนทนา
ติดต่อ
 

 

 

   ห้างหุ้นส่วน  สัญญาเข้าหุ้นส่วนสามัญตกลงว่า ถากิจการขาดทุน หุ้นส่วนจะแบ่งกำไรให้หุ้นส่วนอีกคนหนึ่ง เป็นคำรับรองของหุ้นส่วนคนหนึ่ง มิใช่ว่ากรณีหุ้นส่วนนั้นไม่ต้องรับผิดชอบสำหรับหนี้ของห้างหุ้นส่วนต่อบุคคลภายนอก

     สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาเข้าหุ้นส่วนสามัญ เพราะเป็นสัญญาซึ่งนายหมัดกับนายประทานตกลงเข้ากัน เพื่อทำกิจการซื้อโคส่งไปขายต่างประเทศร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้จากกิจการที่ทำนั้น แม้ในสัญญาเข้าหุ้นส่วนจะตกลงกันด้วยว่า ถ้ากิจการขาดทุน นายประทานจะแบ่งเงินเป็นกำไรให้นายหมัดไม่ต่ำกว่าเดือนละสองพันบาท ก็เป็นเพียงคำรับรองของนายประทานต่อนายหมัดเท่านั้น มิใช่ว่ากรณีจะไม่เข้าบทบัญญัติมาตรา ๑๐๒๕ แห่ง ป.พ.พ. อันจะทำให้นายหมัดไม่ต้องรับผิดชอบสำหรับหนี้สินของห้างหุ้นส่วนต่อบุคคลภายนอกก็หามิได้ (ฎีกาที่ ๑๑๕๙/๒๕๑๐)

     การที่รายได้จากกิจการค้าโคตกตกต่ำ และนายหมัดกับนายประทานมีเหตุบาทหมางกัน ทั้งนายประทานยังอ้างว่านายหมัดมิได้ออกเงินลงทุนร่วมหุ้นด้วย เช่นนี้ ห้างหุ้นส่วนจึงเหลือวิสัยที่จะดำรงอยู่ต่อไปได้ตามมาตรา ๑๐๕๗ (๓) มีเหตุที่ศาลจะสั่งให้เลิกได้ และกรณีเช่นนี้นายหมัดมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนได้โดยไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล้วงหน้าไม่น้อยกว่า ๖ เดือน ตามมาตรา ๑๐๕๖ (ฎีกาที่ ๑๙๕๖/๒๕๑๗)

     เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันแล้วก็ให้จัดการชำระบัญชีตามมาตรา ๑๐๖๑ ดังนั้น คดีนี้จึงวินิจฉัยให้เลิกห้างหุ้นส่วนระหว่างนายหมัดกับนายประทาน และให้ตั้งผู้ชำระบัญชี

บ้านกฎหมาย ตู้กฎหมาย ตู้คำพิพากษา คำถาม-คำตอบ ข้อแนะนำ สนทนา ติดต่อ