กฎหมายกับประชาชนไทย
จัดทำโดย
สำนักงานทนายความ สุพจน์ ธุรกิจ และ สังคม
โทร.0-2418-4546-7#201 ,0-2866-1175 ,Fax 0-2866-1590 ,0-6341-5462
 

  
บ้านกฎหมาย
ตู้กฎหมาย
ตู้คำพิพากษา
คำถาม-คำตอบ
ข้อแนะนำ
สนทนา
ติดต่อ
 

 

.ซื้อขาย ตกลงซื้อขายรถ สัญญาซื้อขายเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ผ่านไปยังผู้ซื้อ ผู้ซื้อเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำละเมิดได้ แต่เรียกจากผู้ขายไม่ได้
เมื่อนายปาดกับนายเปรียวตกลงซื้อขายรถกัน สัญญาซื้อขายเด็ดขาดย่อมเกิดขึ้นแล้ว กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จึงผ่านจากนายปาดไปยังนายเปรียวทันที นายปาดคงมีหน้าที่ที่จะส่งมอบรถให้นายเปรียว นายเปรียวมีหน้าที่ที่จะต้องชำระราคาให้นายปาดเท่านั้น เมื่อนายปรุงทำรถนั้นเสียหายโดยละเมิด จนนายปาดไม่สามารถส่งมอบรถให้แก่นายเปรียวได้ ก็ไม่ใช่ความผิดของนายปาด นายเปรียวเจ้าของจึงมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากนายปรุงผู้ทำละเมิดได้ แต่จะเรียกจากนายปาดไม่ได้

๒. ทำสัญญาซื้อขายรถยนต์ กรรมสิทธิ์เปลี่ยนมือ ส่วนการโอนทะเบียนและชำระราคาไม่ใช่เงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์
ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๔๕๘ บัญญัติว่า "กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้น ย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกัน" ตามข้อเท็จจริง การซื้อขายรถยนต์ระหว่างนายวงกับนายจักรเป็นการเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์รถยนต์เปลี่ยนมือจากนายจักรไปยังนายวงแล้ว การโอนทะเบียนและการชำระราคาไม่ใช่เงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์ ฉะนั้น นายวงจึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากนายเทพได้ตามที่ได้รับความเสียหาย (ฎีกาที่ ๘๘๔/๒๕๑๕)

 

บ้านกฎหมาย ตู้กฎหมาย ตู้คำพิพากษา คำถาม-คำตอบ ข้อแนะนำ สนทนา ติดต่อ