กฎหมายกับประชาชนไทย
จัดทำโดย
สำนักงานทนายความ สุพจน์ ธุรกิจ และ สังคม
โทร.0-2418-4546-7#201 ,0-2866-1175 ,Fax 0-2866-1590 ,0-6341-5462
 

  
บ้านกฎหมาย
ตู้กฎหมาย
ตู้คำพิพากษา
คำถาม-คำตอบ
ข้อแนะนำ
สนทนา
ติดต่อ
 

 

ละเมิด ลูกจ้างกับผู้เสียหายตกลงกันในส่วนค่ารักษาพยาบาล มูลหนี้ส่วนนี้นายจ้างไม่ต้องรับผิด ผู้รับประกันภัยค้ำจุนไม่ต้องรับผิด ส่วนค่าซ่อมรถยนต์ไม่ระงับ ลูกจ้างทำละเมิด นายจ้างต้องร่วมชดใช้ค่าซ่อมแซม ผู้รับประกันค้ำจุนร่วมรับผิดด้วย
จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยที่ ๒ ทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ ๒ แล้วทำบันทึกข้อตกลงให้ไว้กับโจทก์ ข้อตกลงในส่วนที่ยอมใช้ค่ารักษาพยาบาลเป็นเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท นั้นเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงมีผลให้มูลหนี้ละเมิดระงับสิ้นไป จำเลยที่ ๑ ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความส่วนนี้ จำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นนายจ้าง แต่ไม่ได้ร่วมทำสัญญาประนีประนอมยอมความด้วย จึงไม่มีความรับผิด เมื่อจำเลยที่ ๒ ไม่ความรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ ๓ ก็ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนต่อโจทก์ด้วย (ฎีกาที่ ๒๒๔๘/๒๕๒๔, ที่ ๑๓๙๙/๒๕๒๖) แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าซ่อมรถยนต์ เห็นได้ว่า คู่กรณี คือ โจทก์กับจำเลยที่ ๑ มีเจตนาแยกการเรียกค่าเสียหายส่วนนี้ออกจากค่ารักษาพยาบาลจำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท โจทก์จึงไม่สูญสิทธิที่จะเรียกร้องค่าซ่อมแซมรถยนต์ในภายหลัง มูลหนี้ละเมิดในส่วนนี้ไม่ระงับ จำเลยที่ ๑ ผู้ทำละเมิดและจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นนายจ้างต้องร่วมกันชดใช้ค่าซ่อมแซม ๓๐,๐๐๐ บาท แก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๔๒๐, ๔๒๕ จำเลยที่ ๓ ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องร่วมรับผิดด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา ๘๘๗ (เทียบฎีกาที่ ๑๔๖/๒๕๓๒)

 

บ้านกฎหมาย ตู้กฎหมาย ตู้คำพิพากษา คำถาม-คำตอบ ข้อแนะนำ สนทนา ติดต่อ